วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

บทนำ



 รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์ (เว็บบล็อก)ชั้น ม.2/3เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่่องพยาบาลศาสตร์และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า  รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา  ณ ที่นี้ด้วย

  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะพยาบาลแห่งแรกของไทย กำเนิดมาจาก โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล ในยุคโรงเรียนราชแพทยาลัย นับได้ว่าเป็นคณะพยาบาลที่วางรากฐานด้านการพยาบาลที่ยอดเยี่ยมของไทย

ที่มา:https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5&biw=1422&bih=1025&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ved=0ahUKEwjj0bbLtMbKAhWBWo4KHRqrAJ4QsAQIGQ&dpr=0.9











ประวัติสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย


      สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ มีชื่อเมื่อแรกก่อตั้งว่า “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ซึ่งบ่งบอกว่าในขณะนั้นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศมีเฉพาะสตรีเท่านั้น สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม แม้จะได้รับการปรับเปลี่ยนชื่อตามชื่อประเทศซึ่งเปลี่ยนจากประเทศสยามเป็นประเทศไทย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งมิได้จำกัดผู้เข้าเรียนพยาบาลเป็นเฉพาะสตรีเท่านั้น คำว่า “นางพยาบาล” จึงเหลือเพียง “พยาบาล” อย่างไรก็ดี “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ได้รับการยอมรับว่าเป็นสมาคมสตรีแห่งแรกที่ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศนี้ คือได้รับการจดทะเบียนเป็นสมาคม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470

ประวัติการก่อตั้ง

          สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยดำริของพลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในขณะนั้น ท่านได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการมีสมาคมพยาบาลขึ้นในประเทศ จึงได้เชิญพยาบาลชั้นหัวหน้าจากโรงพยาบาลศิริราช และสภากาชาดไทย ประชุมหารือที่บ้านของท่านเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2469 ผู้เข้าประชุมที่เป็นพยาบาล 7 คน ซึ่งมีความเห็นร่วมกันที่จะจัดตั้งสมาคมพยาบาล ขึ้นในประเทศ รายนามพยาบาลผู้เข้าประชุมมีดังนี้

หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ  กมลาศน์  นายกสมาคม
นางลูกจันทร์ ลิ้มไพบูลย์   เลขานุการ
นางสาวพัว  สุจริตกุล(ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร) เหรัญญิก
นางสาวพร้อม เศวตะโสภณ กรรมการ
นางการุณ ศิลานุราษฏร์  (อรุณ รื่นใจชน) กรรมการ
นางสาวมณี  สหัสสานนท์ กรรมการ
นางสอางค์  เนียมณรงค์ กรรมการ




การเลือกนายกสมาคมฯ
          คณะผู้ก่อตั้งได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับของสมาคมฯ และได้เลือกหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ เป็นนายกสมาคมพระองค์แรก




สถานที่ทำการสมาคมฯ แห่งแรก
              พลตรีพระยาดำรง แพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ได้ดำเนินการขอประทานพระอนุญาต จากจอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต องค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม เพื่อขออาศัยใช้สถานที่ของกองบรรเทาทุกข์สภากาชาดสยามเป็นสำนักงาน กับทั้งขอพระราชทานนามสมาคมเพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป ซึ่งองค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามได้ทรงประทานพระอนุญาตให้ใช้สถานที่ ตามที่ขอ และพระราชทานนามสมาคมว่า “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” สมาคมนี้เป็นสมาคมสตรีแห่งแรกของประเทศ

001
 พลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ(ชื่น  พุทธิแพทย์)


006



การจดทะเบียนสมาคมฯ ตามกฎหมาย

             หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ องค์นายกสมาคม ทรงทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2469 ขออนุญาตจดทะเบียนสมาคมโดยทรงขอให้เริ่มจดในวันที่ 1 เมษายน  ซึ่งเป็นวันขึ้นศกใหม่ของพุทธศักราช 2470 แต่วันจดทะเบียนตั้งสมาคมฯ มิได้เป็นไปตามที่ทรงขอไว้

              สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้รับการจดทะเบียนลำดับที่ จ 67 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ได้มีการรับรองกรรมการชุดแรกของสมาคมในการประชุม ปีที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (สำเนาทะเบียนสมาคม หน้า 14)



รายพระนามและนามคณะกรรมการอำนวยการสมาคมฯ ชุดแรก

          1. หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ         กมลาศน์                   นายก

          2. นางลูกจันทร์                     ลิ้มไพบูลย์                  เลขานุการ

          3. นางสาวพัว                       สุจริตกุล (ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร) เหรัญญิก

          4. นางสาวพร้อม                    เศวตะโสภณ               กรรมการ

          5. นางการุณศิลานุราษฎร์ (อรุณ  รื่นใจชน)                     กรรมการ

          6. นางสาวมณี                       สหัสสานนท์               กรรมการ

          7. นางสอางค์                       เนียมณรงค์                 กรรมการ

          8. นางสาวอลิศ                      พีตซ์เยอราลด์              กรรมการ







การประชุมใหญ่ครั้งแรก

             สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ณ ตึกสุทธาทิพย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งแรก จอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระกรุณาเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดประชุม ได้ประทานพระโอวาทแก่สมาชิกสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ให้มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง พร้อมทั้งได้ทรงสดุดี นางสาวฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้เป็นปฐมปรมาจารย์ของการพยาบาลเพื่อพยาบาลทั้งหลาย ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

            การประชุมใหญ่สามัญจึงได้จัดขึ้นเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



ตราเครื่องหมายสมาคมพยาบาลฯ



004





              พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงษ์ ได้ทรงพระกรุณาออกแบบตราสมาคม เป็นดาว 5 แฉก รัศมีสีทอง มีตัวอักษร “สมาคมพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ตัวอักษรเป็นทอง พื้นลงยาสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างสามเศียรสีเงิน เป็นเงินดุล



สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงรับการกราบทูลเชิญเป็นกรรมการสมาคมพยาบาลฯ

              ในเดือนพฤษภาคม 2472 หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีนคริน-ทราบรมราชชนนี ซึ่งขณะนั้น ทรงดำรงพระนามหม่อมสังวาลย์ มหิดล ทรงเป็นกรรมการของสมาคมพยาบาลฯ เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาลหลักสูตรการผดุงครรภ์และการพยาบาล ไข้ จากโรงเรียนผดุงครรภ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 ซึ่งพระองค์ได้ทรงรับและเสด็จมาร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการด้วย       ต่อมาเนื่องจากพระภารกิจในการถวายการดูแลการประชวรของสมเด็จเจ้าฟ้า มหิดลอดลุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระบรมราชชนก)    ไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ จึงได้แต่งตั้ง    นางสาวจำนง วีระไวทยะ (คุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท) ให้มาเป็นกรรมการและร่วมประชุมแทนพระองค์



สมาคมฯ เข้าเป็นสมาชิกสมทบของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ

                 ในปี พ.ศ. 2476 สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ [ICN]  เชิญสมาคมเข้าเป็นสมาชิกสมทบ และหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์  เป็นนายกสมาคมฯได้เข้าเป็นผู้แทนของประเทศไทยประเภทสมาชิกสมทบโดยตำแหน่ง [Associate  National Representative]   และ พ.ศ.2500   นายกสมาคมฯ คุณหญิงสมานใจ  ดำรงแพทยาคุณ  เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติ  เป็น Board  of  Directors  ของ ICN โดยตำแหน่ง     มี บทบาทด้านกำหนดนโยบายและแนวความคิดต่างๆ ทำให้พยาบาลไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง และเผยแพร่วิชาชีพการพยาบาลไทยในต่างประเทศด้วย  เมื่อมีสมาชิก ของ ICN  เพิ่มมากขึ้นในสมัยนั้น ถึง   95  ประเทศ  จึงได้เริ่มมีการคัดเลือกผู้แทนประเทศต่าง ๆ เพียง 15 ประเทศ เป็นกรรมการบริหาร    

                             



                

                   ปัจจุบันมีสมาชิก ของ ICN จำนวน 135 ประเทศ     ซึ่งพยาบาลไทยท่านแรกที่ได้รับเป็นกรรมการบริหาร ICN  คือ รองศาสตราจารย์ ดร. วิเชียร  ทวีลาภ   วาระ ค.ศ.1985-1989      ท่านที่  2   รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา  บุญทอง   วาระ  ค.ศ. 1993-1997     และ     ท่านที่ 3 รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา  ยูนิพันธุ์  วาระ ค.ศ.  2013-2017



การเข้าร่วมเป็นกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลป

                สมาคมพยาบาลฯ ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ใน พ.ศ. 2480 โดยมีหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์  นายกสมาคมฯ เป็นกรรมการสาขาพยาบาล     ซึ่งต่อมา นางสาว
สงวนวรรณ  เฟื่องเพ็ชร์  ทำหน้าที่แทน ส่วนสาขาผดุงครรภ์ นางสาวลออ บุนนาค ทำหน้าที่เป็นกรรมการ
             


การออกหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุครั้งแรก

                คณะกรรมการสมาคมฯ   ได้ประชุมพิจารณาลงความเห็นสมควรออกหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุนางพยาบาลไทย เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่สมาชิกเป็นประจำ        ที่ประชุมได้มอบให้หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์  เป็นบรรณาธิการ           นางอัพภันตราพาธ    พิศาล  เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ   นาง ลูกจันทร์  ลิ้มไพบูลย์   เป็นเจ้าของผู้แทนสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม    และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2472 เลขทะเบียนที่ 99 กำหนดระยะเวลาออกหนังสือ  4   เดือน ต่อ 1 เล่ม    หรือปีละ 3 เล่ม



การปรับเปลี่ยนชื่อสมาคมพยาบาลฯ

                 พ.ศ. 2483 เปลี่ยนชื่อจาก สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม    เป็น สมาคมนางพยาบาลแห่งประเทศไทย

                 พ.ศ. 2500 เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย



สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมฯ ไว้ในพระราชูปถัมภ์

                 พ.ศ. 2500 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ไว้ในพระราชูปถัมภ์



การประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งแรก

                  สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ได้จัดให้มีการประชุมพยาบาลแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2503 ณ ศาลาสันติธรรม ซึ่งเป็นการประชุมที่มีพยาบาลจากทั่วประเทศเข้าร่วมประชุม

                  การประชุมพยาบาลแห่งชาติ ได้กำหนดให้จัดขึ้นทุก 4 ปี เช่นเดียวกับการประชุม ICN Quadrennial Convention ของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ

                  การประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนคริน-ทราบรมราชชนนี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดการประชุม ซึ่งการประชุมพยาบาลแห่งชาตินี้ได้ปฏิบัติเป็นประเพณีเรื่อยมา และมติจากการประชุมพยาบาลแห่งชาติทุกครั้ง ได้นำไปเป็นแนวทางการกำหนดนโยบายของวิชาชีพตลอดมา

                                                                      



การผลักดันให้มีพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์    และ   การกำเนิด                       “สภาการพยาบาล”                  

               เพื่อพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้า ในการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2511 ซึ่งมีคุณหญิงสมานใจ ดำรงแพทยาคุณเป็นนายกสมาคม และประธานการประชุม ที่ประชุมมีมติให้วิชาชีพการพยาบาลผลักดันให้มีพระราชบัญญัติวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ และมีสภาการพยาบาลขึ้นเพื่อทำหน้าที่กำกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ ได้รับการตราขึ้นเป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2528 ทำให้สภาการพยาบาลเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งทำหน้าที่เป็น “Regulatory Body” ของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

                                      







ที่ทำการสมาคมพยาบาลฯ ปัจจุบัน

                พ.ศ. 2530 รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร  ทวีลาภ  นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการอำนวยการสมาคมฯ  มีมติให้สร้างอาคารที่ทำการสมาคมขึ้นใหม่แทนอาคารเดิมที่ทรุดโทรมหลังใช้ งานมา 20 ปี   อาคารสำนักงานสมาคมฯ  ได้รับพระราชทานนามว่า    “ อาคารสมเด็จพระบรมราชชนนี 90 ”

สถานที่ตั้ง    เลขที่ 21/12   ซอยชวกุล   ถนนรางน้ำ  เขตราชเทวี   กรุงเทพมหานคร 10400   

 

                      

    ที่ทำการสมาคมพยาบาลฯ หลังเดิม                               อาคารสมเด็จพระบรมราชชนนี 90      



พิธีวางศิลาฤกษ์และพิธีเปิดอาคารสำนักงานสมาคมพยาบาลฯ

                  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร “ สมเด็จพระบรมราชชนนี 90 ” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2532 และเสด็จทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “ สมเด็จพระบรมราชชนนี 90 ” เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2533



ต้นไม้สัญลักษณ์ของพยาบาล

                                                

                 พ.ศ. 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 21 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นวัน “พยาบาลแห่งชาติ” และเป็นปีที่ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา สมาคมพยาบาลฯ ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถวายเป็นพระราชกุศล

                 ในโอกาสนี้สมาคมฯ โดยนายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ คุณอุดม สุภาไตร และกรรมการอำนวยการกิตติมศักดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ทวีลาภ ได้เลือกให้ “ต้นปีบ”  ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นและดอกปีบมีสีขาว เป็นสีแห่งความสะอาด “ดอกปีบ” จึงเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของพยาบาล

                 โดยเป็นมติเห็นชอบจากการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

                               

เครื่องแบบพิธีการของสมาคมพยาบาลฯ

                เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง และเป็นระเบียบ สมาคมฯ โดย อาจารย์ คุณอุดม สุภาไตร นายกสมาคม และกรรมการอำนวยการกิตติมศักดิ์    รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ทวีลาภ ได้กำหนดชุดเครื่องแบบพิธีการของสมาคมเป็นชุดสูทสีขาว   เสื้อตัวในเป็นคอปกปีกกาพื้นสีแดงพิมพ์ลายดอกปีบสีขาว ซึ่ง อาจารย์สมจิตต์ กาญจนะโภคิน  ได้กรุณาหาช่างออกแบบลายดอกปีบสีขาวให้

                ชุดเครื่องแบบพิธีการ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการสมาคมฯ และได้นำเสนอเพื่อที่ประชุมใหญ่ให้ความเห็นชอบในการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2538   

                            


คำขวัญวิชาชีพการพยาบาลไทย

          ในโอกาสการประชุมพยาบาลแห่งชาติ เพื่อฉลอง 100 ปีการพยาบาลไทย เมื่อ พ.ศ. 2538 นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง ได้เสนอให้กำหนดคำขวัญ (Slogan) วิชาชีพการพยาบาลไทยว่า “สุขภาพท่าน...เราห่วงใย” และใช้ภาษาอังกฤษว่า “Your Health….We Care” และได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ในปี พ.ศ. 2538 ให้ใช้เป็นคำขวัญของวิชาชีพการพยาบาลต่อไป




ที่มา:http://www.thainurse.org/new/index.php?option=com_content&view=article&id=80&Itemid=57

วัตถุประสงค์สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย

1. เป็นศูนย์กลางรวมความคิดเห็น  และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาล
2. ส่งเสริมความสามัคคี  จริยธรรม  และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ
3. ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางวิชาชีพ  โดยสนับสนุนการศึกษา  การวิจัยและเผยแพร่ความรู้
4. ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อความเจริญทางวิชาชีพ
5. ช่วยเหลือในการที่จะสร้างเสริมและผดุงไว้ซึ่งสวัสดิภาพ  สุขภาพอนามัย  และความเป็นอยู่อันดีของสังคม
6. ช่วยเหลือสมาชิกในด้านสวัสดิการ  ตามที่กำหนดไว้
7. เป็นตัวแทนสมาชิกในการแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ทั้งในและต่างประเทศ



ที่มา:http://www.thainurse.org/new/index.php?option=com_content&view=article&id=80&Itemid=57




ที่มา:http://www.thainurse.org/new/index.php?option=com_content&view=article&id=82&Itemid=60

จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล



จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

ที่มา:http://nurseup.blogspot.com/2012/10/blog-post_22.html

      
 การพยาบาลเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม นับได้ว่าเป็นบริการในระดับสถาบันของสังคม ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติ มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแนวทางในการประพฤติและปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม

จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาลเป็นการประมวลหลักความประพฤติ ให้บุคคลในวิชาชีพยึดถือปฏิบัติ สมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (The America Nurses Associations A.N.A.) ได้กำหนดสาระสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลไว้ดังนี้



1. พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัด ในเรื่อง สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย


2. พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วยโดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้ เป็นความลับ

3. พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย สังคม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยถูกกระทำการที่อาจเกิด จากความไม่รู้ ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด

4. พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย

5. พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล

6. พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน ใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นหลักในการขอคำปรึกษาหารือยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึง การมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่นปฏิบัติ

7. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ

8. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการ ปฏิบัติการพยาบาล

9. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะ นำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง

10. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง สังคม จากการเสนอข้อมูลที่ผิด และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคีในวิชาชีพ

11. พยาบาลพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่นๆใน สังคมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคม สำหรับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคม พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นให้พยาบาลได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นความรับผิดชอบต่อประชาชน
ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและต่อตนเองดังนี้


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน


1. ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

2. ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล

3. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ และการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน

4. พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้นั้นหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

5. พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการวินิจฉัยและการ แก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสมแก่สภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน

6. พึงป้องกันภยันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ


1. พึงประกอบกิจแห่งวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายอันยังประโยชน์แก่สาธารณชน

2. พึงรับผิดชอบร่วมกับประชาชนในการริเริ่ม สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข และยกระดับคุณภาพ
ชีวิต

3. พึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ

4. พึงประกอบวิชาชีพโดยมุ่งส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ


1. พึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบตามหลักการแห่งวิชาชีพการ พยาบาล

2. พัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติให้ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ

3. พึงศรัทธาสนับสนุนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมแห่งวิชาชีพ

4. พึงสร้างและธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรม ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล

5. พึงเผยแพร่ชื่อเสียงและคุณค่าแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏแก่สังคม


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและ ผู้ประกอบวิชาชีพอื่น


1. ให้เกียรติ เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้อื่น

2. เห็นคุณค่าและยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์สาขาต่างๆ

3. พึงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี กับผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกวิชาชีพ

4. ยอมรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และชักนำให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร

5. พึงอำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ร่วมงานในการปฏิบัติภารกิจอันชอบ ธรรม

6. ละเว้นการส่งเสริมหรือปกป้องผู้ประพฤติผิด เพื่อผลประโยชน์แห่งตนหรือผู้กระทำการนั้นๆ


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง


1. ประพฤติตนและประกอบกิจแห่งวิชาชีพ โดยถูกต้องตามกฎหมาย

2. ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

3. ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการประกอบกิจแห่งวิชาชีพและส่วนตัว

4. ใฝ่รู้พัฒนาแนวคิดให้กว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง

5. ประกอบกิจแห่งวิชาชีพด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ

6. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมีสติ รอบรู้ เชื่อมั่นและมีวิจารณญาณอันรอบคอบ



ที่มา:http://www.tnc.or.th/law/page-4.html

แนวทางการศึกษา



รายละเอียดของคณะ

การศึกษาในคณะพยาบาลศาสตร์  สิ่งที่มุ่งเน้นแน่นอนว่าก็คือ เรื่องการให้บริการด้านสุขอนามัยแก่ผู้ป่วย และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บต่างๆ ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลภาวะเสี่ยงต่อโรคต่างๆ  ภาวะอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย รวมถึงการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติ ที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ผู้ที่สนใจเรียนคณะนี้ ควรเป็นผู้ที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา มีความรักที่ดี เห็นคุณค่าและความสำคัญของชีวิตมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน สามารถปรับตัว และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สิ่งสำคัญต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การพัฒนาสังคม ประเทศชาติได้ต่อไป
ที่มา:http://www.tnc.or.th/law/page-4.html




 สาขาที่เปิดสอน

สาขาวิชาการพยาบาลพื้นฐาน
สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัวและผดุงครรภ์
สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช
สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน


ที่มา:http://more-mai.blogspot.com/2010/09/4-6360-7780-10600-7000-7600-13900-250.html

แนวทางในการประกอบอาชีพ คณะพยาบาลศาสตร์

แนวทางในการประกอบอาชีพ คณะพยาบาลศาสตร์

พยาบาลศาสตร์

เป็น การศึกษาที่เน้นหนักในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้ป่วยทางกายหรือทาง จิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพและผู้สูงอายุ การให้บริการด้านพยาบาล คำนึงถึงความต้องการของคนไข้ ตามลักษณะของโรคที่เป็น สังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใด ๆ ที่อาจเกิดจากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้และประชาชนทั่วไปให้รู้จักรักษา และส่งเสริมสุขภาพ ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝายการแพทย์ แลอนามัยแขนงอื่น ๆ ในด้านบริการคนไข้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 1.มีความรู้พื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์
2.มีสุขภาพกายและจิตดี มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้ป่วย มีเมตตากรุณา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์
3.เสียสละทั้งด้านเวลาและตนเองให้แก่ผู้ป่วยทุกคน มีความอดทน อดกลั้น

แนวทางในการประกอบอาชีพ
รับ ราชการในหน่วยงานของรัฐ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ รายได้ค่อนข้างดี ศึกษาต่อระดับปริญญาโท และเอกสาขาพยาบาลศาสตร์ได้ทั้งในและต่างประเทศ

ตัวอย่างวีดีโอ