สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ มีชื่อเมื่อแรกก่อตั้งว่า “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ซึ่งบ่งบอกว่าในขณะนั้นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศมีเฉพาะสตรีเท่านั้น สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม แม้จะได้รับการปรับเปลี่ยนชื่อตามชื่อประเทศซึ่งเปลี่ยนจากประเทศสยามเป็นประเทศไทย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งมิได้จำกัดผู้เข้าเรียนพยาบาลเป็นเฉพาะสตรีเท่านั้น คำว่า “นางพยาบาล” จึงเหลือเพียง “พยาบาล” อย่างไรก็ดี “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ได้รับการยอมรับว่าเป็นสมาคมสตรีแห่งแรกที่ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศนี้ คือได้รับการจดทะเบียนเป็นสมาคม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470
ประวัติการก่อตั้ง
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ
ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยดำริของพลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์)
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในขณะนั้น
ท่านได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการมีสมาคมพยาบาลขึ้นในประเทศ จึงได้เชิญพยาบาลชั้นหัวหน้าจากโรงพยาบาลศิริราช และสภากาชาดไทย
ประชุมหารือที่บ้านของท่านเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2469
ผู้เข้าประชุมที่เป็นพยาบาล 7 คน
ซึ่งมีความเห็นร่วมกันที่จะจัดตั้งสมาคมพยาบาล ขึ้นในประเทศ
รายนามพยาบาลผู้เข้าประชุมมีดังนี้
หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ | กมลาศน์ | นายกสมาคม |
นางลูกจันทร์ | ลิ้มไพบูลย์ | เลขานุการ |
นางสาวพัว | สุจริตกุล(ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร) | เหรัญญิก |
นางสาวพร้อม | เศวตะโสภณ | กรรมการ |
นางการุณ | ศิลานุราษฏร์ (อรุณ รื่นใจชน) | กรรมการ |
นางสาวมณี | สหัสสานนท์ | กรรมการ |
นางสอางค์ | เนียมณรงค์ | กรรมการ |
การเลือกนายกสมาคมฯ
คณะผู้ก่อตั้งได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับของสมาคมฯ
และได้เลือกหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ เป็นนายกสมาคมพระองค์แรก
พลตรีพระยาดำรง แพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์)
ได้ดำเนินการขอประทานพระอนุญาต
จากจอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต องค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม
เพื่อขออาศัยใช้สถานที่ของกองบรรเทาทุกข์สภากาชาดสยามเป็นสำนักงาน
กับทั้งขอพระราชทานนามสมาคมเพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป
ซึ่งองค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามได้ทรงประทานพระอนุญาตให้ใช้สถานที่
ตามที่ขอ และพระราชทานนามสมาคมว่า “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม”
สมาคมนี้เป็นสมาคมสตรีแห่งแรกของประเทศ
พลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ(ชื่น พุทธิแพทย์)
หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ องค์นายกสมาคม
ทรงทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.
2469 ขออนุญาตจดทะเบียนสมาคมโดยทรงขอให้เริ่มจดในวันที่ 1 เมษายน
ซึ่งเป็นวันขึ้นศกใหม่ของพุทธศักราช 2470 แต่วันจดทะเบียนตั้งสมาคมฯ
มิได้เป็นไปตามที่ทรงขอไว้
สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้รับการจดทะเบียนลำดับที่ จ 67
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470
ได้มีการรับรองกรรมการชุดแรกของสมาคมในการประชุม ปีที่ 1 ครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (สำเนาทะเบียนสมาคม หน้า 14)
1. หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ นายก
2. นางลูกจันทร์ ลิ้มไพบูลย์ เลขานุการ
3. นางสาวพัว สุจริตกุล (ท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร) เหรัญญิก
4. นางสาวพร้อม เศวตะโสภณ กรรมการ
5. นางการุณศิลานุราษฎร์ (อรุณ รื่นใจชน) กรรมการ
6. นางสาวมณี สหัสสานนท์ กรรมการ
7. นางสอางค์ เนียมณรงค์ กรรมการ
8. นางสาวอลิศ พีตซ์เยอราลด์ กรรมการ
สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ครั้งแรก
เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ณ ตึกสุทธาทิพย์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งแรก
จอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระกรุณาเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดประชุม
ได้ประทานพระโอวาทแก่สมาชิกสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม
ให้มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง พร้อมทั้งได้ทรงสดุดี นางสาวฟลอเรนซ์
ไนติงเกล ผู้เป็นปฐมปรมาจารย์ของการพยาบาลเพื่อพยาบาลทั้งหลาย
ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
การประชุมใหญ่สามัญจึงได้จัดขึ้นเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ตราเครื่องหมายสมาคมพยาบาลฯ
พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงษ์
ได้ทรงพระกรุณาออกแบบตราสมาคม เป็นดาว 5 แฉก รัศมีสีทอง มีตัวอักษร “สมาคมพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ตัวอักษรเป็นทอง พื้นลงยาสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างสามเศียรสีเงิน เป็นเงินดุล
ในเดือนพฤษภาคม 2472 หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์
ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีนคริน-ทราบรมราชชนนี ซึ่งขณะนั้น
ทรงดำรงพระนามหม่อมสังวาลย์ มหิดล ทรงเป็นกรรมการของสมาคมพยาบาลฯ
เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาลหลักสูตรการผดุงครรภ์และการพยาบาล
ไข้ จากโรงเรียนผดุงครรภ์ เมื่อ พ.ศ. 2459
ซึ่งพระองค์ได้ทรงรับและเสด็จมาร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการด้วย
ต่อมาเนื่องจากพระภารกิจในการถวายการดูแลการประชวรของสมเด็จเจ้าฟ้า
มหิดลอดลุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระบรมราชชนก)
ไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ จึงได้แต่งตั้ง นางสาวจำนง วีระไวทยะ
(คุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท) ให้มาเป็นกรรมการและร่วมประชุมแทนพระองค์
ในปี พ.ศ. 2476 สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ [ICN]
เชิญสมาคมเข้าเป็นสมาชิกสมทบ และหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์
เป็นนายกสมาคมฯได้เข้าเป็นผู้แทนของประเทศไทยประเภทสมาชิกสมทบโดยตำแหน่ง
[Associate National Representative] และ พ.ศ.2500 นายกสมาคมฯ
คุณหญิงสมานใจ ดำรงแพทยาคุณ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติ เป็น Board
of Directors ของ ICN โดยตำแหน่ง มี
บทบาทด้านกำหนดนโยบายและแนวความคิดต่างๆ
ทำให้พยาบาลไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง
และเผยแพร่วิชาชีพการพยาบาลไทยในต่างประเทศด้วย เมื่อมีสมาชิก ของ ICN เพิ่มมากขึ้นในสมัยนั้น ถึง 95 ประเทศ จึงได้เริ่มมีการคัดเลือกผู้แทนประเทศต่าง ๆ เพียง 15 ประเทศ เป็นกรรมการบริหาร
ปัจจุบันมีสมาชิก ของ ICN จำนวน 135 ประเทศ ซึ่งพยาบาลไทยท่านแรกที่ได้รับเป็นกรรมการบริหาร ICN คือ รองศาสตราจารย์ ดร. วิเชียร ทวีลาภ วาระ ค.ศ.1985-1989 ท่านที่ 2 รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง วาระ ค.ศ. 1993-1997 และ ท่านที่ 3 รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ วาระ ค.ศ. 2013-2017
สงวนวรรณ เฟื่องเพ็ชร์ ทำหน้าที่แทน ส่วนสาขาผดุงครรภ์ นางสาวลออ บุนนาค ทำหน้าที่เป็นกรรมการ
พ.ศ. 2483 เปลี่ยนชื่อจาก สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม เป็น สมาคมนางพยาบาลแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2500 เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2500 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ไว้ในพระราชูปถัมภ์
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ได้จัดให้มีการประชุมพยาบาลแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2503 ณ
ศาลาสันติธรรม ซึ่งเป็นการประชุมที่มีพยาบาลจากทั่วประเทศเข้าร่วมประชุม
การประชุมพยาบาลแห่งชาติ ได้กำหนดให้จัดขึ้นทุก 4 ปี เช่นเดียวกับการประชุม ICN Quadrennial Convention ของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ
การประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนคริน-ทราบรมราชชนนี
เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดการประชุม
ซึ่งการประชุมพยาบาลแห่งชาตินี้ได้ปฏิบัติเป็นประเพณีเรื่อยมา
และมติจากการประชุมพยาบาลแห่งชาติทุกครั้ง
ได้นำไปเป็นแนวทางการกำหนดนโยบายของวิชาชีพตลอดมา
เพื่อพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้า ในการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 3
เมื่อปี พ.ศ. 2511 ซึ่งมีคุณหญิงสมานใจ ดำรงแพทยาคุณเป็นนายกสมาคม
และประธานการประชุม
ที่ประชุมมีมติให้วิชาชีพการพยาบาลผลักดันให้มีพระราชบัญญัติวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์
และมีสภาการพยาบาลขึ้นเพื่อทำหน้าที่กำกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการ
ผดุงครรภ์ ได้รับการตราขึ้นเป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2528
ทำให้สภาการพยาบาลเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งทำหน้าที่เป็น “Regulatory Body” ของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พ.ศ. 2530 รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ทวีลาภ นายกสมาคมฯ
และคณะกรรมการอำนวยการสมาคมฯ
มีมติให้สร้างอาคารที่ทำการสมาคมขึ้นใหม่แทนอาคารเดิมที่ทรุดโทรมหลังใช้
งานมา 20 ปี อาคารสำนักงานสมาคมฯ ได้รับพระราชทานนามว่า “ อาคารสมเด็จพระบรมราชชนนี 90 ”
สถานที่ตั้ง เลขที่ 21/12 ซอยชวกุล ถนนรางน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
ที่ทำการสมาคมพยาบาลฯ หลังเดิม อาคารสมเด็จพระบรมราชชนนี 90
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร “
สมเด็จพระบรมราชชนนี 90 ” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2532
และเสด็จทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร “ สมเด็จพระบรมราชชนนี 90 ” เมื่อ 15
ธันวาคม พ.ศ. 2533
ต้นไม้สัญลักษณ์ของพยาบาล
พ.ศ. 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 21 ตุลาคม
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นวัน “พยาบาลแห่งชาติ” และเป็นปีที่ทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา สมาคมพยาบาลฯ ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถวายเป็นพระราชกุศล
ในโอกาสนี้สมาคมฯ โดยนายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ คุณอุดม
สุภาไตร และกรรมการอำนวยการกิตติมศักดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ทวีลาภ
ได้เลือกให้ “ต้นปีบ” ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นและดอกปีบมีสีขาว เป็นสีแห่งความสะอาด “ดอกปีบ” จึงเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของพยาบาล
โดยเป็นมติเห็นชอบจากการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง และเป็นระเบียบ สมาคมฯ โดย อาจารย์
คุณอุดม สุภาไตร นายกสมาคม และกรรมการอำนวยการกิตติมศักดิ์
รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ทวีลาภ
ได้กำหนดชุดเครื่องแบบพิธีการของสมาคมเป็นชุดสูทสีขาว
เสื้อตัวในเป็นคอปกปีกกาพื้นสีแดงพิมพ์ลายดอกปีบสีขาว ซึ่ง อาจารย์สมจิตต์
กาญจนะโภคิน ได้กรุณาหาช่างออกแบบลายดอกปีบสีขาวให้
ชุดเครื่องแบบพิธีการ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการสมาคมฯ
และได้นำเสนอเพื่อที่ประชุมใหญ่ให้ความเห็นชอบในการประชุมพยาบาลแห่งชาติ
ครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2538
ในโอกาสการประชุมพยาบาลแห่งชาติ เพื่อฉลอง 100 ปีการพยาบาลไทย เมื่อ พ.ศ.
2538 นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง
ได้เสนอให้กำหนดคำขวัญ (Slogan) วิชาชีพการพยาบาลไทยว่า “สุขภาพท่าน...เราห่วงใย” และใช้ภาษาอังกฤษว่า “Your Health….We Care” และได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ในปี พ.ศ. 2538 ให้ใช้เป็นคำขวัญของวิชาชีพการพยาบาลต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น