พยาบาล
ที่มา:https://www.google.co.th/search?
นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติอาชีพพยาบาล ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยทั้งทางกายและจิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือทุพพลภาพ รักษาและป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ วางแผนและให้บริการด้านพยาบาล และทำหน้าที่ช่วยแพทย์ ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล
ลักษณะของงานที่ทำ
รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้
ที่มา:https://www.google.co.th/search?
สภาพการจ้างงาน
สำหรับหน่วยงานราชการพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับเงินเดือนอัตรา6,360 บาท ส่วนพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้รับเงินเดือนอัตรา 7,780 บาท และปริญญาเอกได้รับเงินเดือนอัตรา 10,600 บาท
ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้ รับเงินเดือนประมาณ 7,000 -7,600 บาท
สำหรับหน่วยงานเอกชน พยาบาลที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนขั้นต้นประมาณ 13,900 บาท ค่าอยู่เวร เวรละ 250 บาท ซึ่งจะมีรายได้เฉลี่ยจากค่าอยู่เวรประมาณเดือนละ 2,500 - 3,000 บาท ซึ่งพยาบาลเอกชนจะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 16,000 บาทมีสวัสดิการที่พักและสิทธิพิเศษ อื่นๆ ตามเงื่อนไขการตกลงกับผู้ว่าจ้าง ผู้ปฏิบัติงานอาชีพพยาบาลโดยปกติทำงานวันละ 8 - 9 ชั่วโมง และมีการเข้าเวรทำงานตามที่กำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติ นอกจากนี้ พยาบาลที่ออกเวรแล้วสามารถหารายได้พิเศษในการรับจ้างเฝ้าไข้ ให้กับคนไข้อีกด้วย
สภาพการทำงาน
ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน สถานพยาบาล(คลีนิค) สถานพักฟื้น สถานฟื้นฟู ดูแลรักษาสุขภาพ สถานสงเคราะห์ เด็ก หรือคนชรา สถานอนุบาลเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน สถานการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย สถานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สถานีอนามัย/คลีนิคในชุมชนพยาบาลประจำบ้าน หรือส่วนบุคคล เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษา พยาบาลศาสตร์ต่อเนื่อง หรือพยาบาลศาสตร์
2. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค (อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน)
3. มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าในการตัดสินใจ
5. มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
6. มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้
เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องเลือกเรียน/ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทยาศาสตร์) จากนั้นจึงจะทำการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาพยาบาลของมหาวิทยาลัย ต่างๆ ที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องมีผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา ค่อนข้างดีด้วย
เครื่องแบบเมื่อสำเร็จการศึกษา
ที่มา:https://www.google.co.th/search?
เมื่อพยาบาลสำเร็จการศึกษาจะมีเครื่องแบบแตกต่างกันตามสถาบัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3ลักษณะคือ
ครุยปริญญา
สวมครุยปริญญาของสถาบันที่สำเร็จการศึกษา
ชุดขาวปกติแขนยาว ติดช่อดอกไม้ที่หน้าอก
ดังเช่น ของกระทรวงสาธารณสุข นางสาวมณี สหัสสานนท์ เป็นผู้นำมาใช้เพื่อระลึกถึงความเป็นเพื่อนร่วมรุ่นและความสามัคคี มีเรื่องเล่าว่า มีพยาบาลรุ่นหนึ่งเมื่อจบการศึกษาแล้วต้องการรวมรุ่นทุกคน พยาบาลผู้หนึ่งในรุ่นนั้นได้รับอุบัติเหตุ ก่อนเสียชีวิตได้สั่งสามีให้นำช่อดอกไม้มามอบแก่เพื่อนที่มาชุมนุมเป็น สัญญลักษณ์แห่งความรักและความสามัคคีของหมู่พยาบาล นับแต่นั้นจึงใช้ดอกไม้ติดปกเสื้อในวันสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้หมายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity) ปกติใช้สำหรับผู้จบการศึกษาในหลักสูตรต่อเนื่อง เช่น ครูพยาบาล ต่อมานำมาใช้สำหรับหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ด้วย
ชุดปกติขาวสวมเสื้อคลุม
ซึ่งพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ สังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข จะสวมเสื้อคลุม (cape) ในวันรับประกาศนียบัตร เสื้อคลุมทำด้วยผ้าสักหลาด ด้านนอกสีน้ำเงิน ด้านในสีแดงสด เสื้อผ่าด้านหน้าเปิดพับชายด้านซ้ายไว้ที่ไหล่ซ้าย นางสาวมณี สหัสสานนท์ อาจารย์ผู้ปกครอง เป็นผู้นำมาใช้เมื่อก่อตั้งโรงเรียนเป็นครั้งแร พ.ศ. 2492 และได้ถือเป็นประเพณีนิยมกันมาถึงทุกวันนี้ เสื้อคลุมเป็นสัญลักษณ์ของการทำความดี การเสียสละ และอุทิศตนเพื่อความสุขของผู้อื่น ปรากฏเรื่องในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับพันธสัญญาเดิม ในหนังสือ 1 พงศาวดารกษัตริย์ บทที่ 19 ข้อ 19 และ 2 พงศาวดารกษัตริย์บทที่ 2 ข้อ 8-12 กล่าวว่าชายคนหนึ่งชื่ออิลิจา (Dlijah) ใส่เสื้อคลุมไม่มีแขนทำด้วยหนังแพะ ประกอบแต่กิจกรรมต่างๆ ที่นำความสุขมาสู่เพื่อนมนุษย์และใช้เป็นเครื่องมือรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย ไข้ เมื่ออิลิจาสิ้นชีวิตลง แอลลิซ่า (Elisha) เพื่อนซึ่งมีความศรัทธาในการทำงานอันเป็นบุญกุศลของอิลิจา จึงได้รับช่วงเสื้อคลุมและปฏิบัติตนเช่นเดียวกับอิลิจาสมดังเจตนาของพระเจ้า นางสาวมณี สหัสสานนท์ จึงนำเสื้อคลุมมาใช้ในความหมายดังกล่าว ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาพยาบาลบางแห่ง นอกจากกระทรวงสาธารณสุขก็นำเสื้อคลุมไปใช้ด้วยเช่นกัน
ที่มา:http://more-mai.blogspot.com/2010/09/4-6360-7780-10600-7000-7600-13900-250.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น