บทนำ
การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (Asean Economics Community: AEC) ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ การพยาบาลซึ่งเป็นงานบริการทางด้านสุขภาพหนึ่งในสาขาบริการเร่งรัดตาม AEC Blueprint สมาชิกวิชาชีพพยาบาลทุกคนจึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาสุขภาพ ระดับอาเซียน ที่จะส่งผลต่อลักษณะการปฏิบัติงานและการจัดการทรัพยากรทางการพยาบาล ดังนั้นการวิจัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาลเพื่อใช้เป็นกลวิธีใน การหาคำตอบสำหรับปัญหาต่างๆที่สามารถเชื่อถือได้ และสามารถใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติการพยาบาลและการบริหารการ พยาบาล รวมทั้งเป็นการระดมสมองและสร้างเวทีทางวิชาการเพื่อการวิจัยและการใช้ผลการ วิจัยในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการแข่งขัน การเทียบเคียงคุณภาพการบริการพยาบาลเมื่อวิชาชีพการพยาบาลไทยก้าวสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนต่อไป
พยาบาลคือผู้ดุแลสุขภาพของทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม จึงมีความจำเป็นที่วิชาชีพพยาบาลต้องตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพพื้นฐานของ สังคมและการให้บริการทางการพยาบาลเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง พยาบาลทุกคนจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาสุขภาพระดับอา เซียนที่กำลังจะมาถึงในปี พ.ศ.๒๕๕๘
บทบาทพยาบาลกับการเข้าสู่กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บรรยายโดย ร.ท.หญิง ดร.แก้ววิบูลย์ แสงพลสิทธิ์ ร.น.
บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
อาเซียน(ASEAN) หรือสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน(Association of Southeast Asian Nation-Asean) ก่อตั้งเมื่อเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ ได้มีการลงนามปฏิญญากรุงเทพฯ(Bangkok Declaration)ที่วังสราญรมย์ มีสมาชิกในขระนั้น ๕ ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ และในปี ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบันอาเซียนได้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มอีก ๕ ประเทศคือ บรูไน ดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา รวมเป็น ๑๐ ประเทศ มีประชากรรวมกัน ๕๐๓ ล้านคน มีดินแดนรวม ๔.๕ ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวม ๗๓๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการค้ารวม ๗๒๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๑๓ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ ๔๐ปีของการก่อตั้งอาเซียน จึงเท่ากับเปลี่ยนสถานะของอาเซียนซึ่งเป็นเพียงสมาคมให้มีสถานะเป็น นิติบุคคลและกลายเป็น องค์กรระหว่างรัฐบาล มีการปรับโครงสร้างขององค์กรที่ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีของอาเซียน ทำหน้าที่เป็น ๓เสาหลัก ได้แก่
๑.ด้านการเมืองและความมั่นคง
๒.ด้านเศรษฐกิจ
๓.ด้านสังคมและวัฒนธรรม
กระบวนการตัดสินใจเกิดจาการประชุมระดับผู้นำ มีการเพิ่มอำนาจสำนักเลขาธิการ(Secretariat) และผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (Secretary General) มีการกำหนดกลไกระงับข้อพิพาท และให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดุแลการปฏิบัติตามพันธะกรณีและคำตัดสินของ องค์กรระงับข้อพิพาท เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. ๒๐๐๙-๒๐๑๕) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย ๓ ประชาคม ดังนี้
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community :APSC)มุ่งให้ประชาชนในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง มีความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคง
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกในการติดต่อซื้อขาย ระหว่างกัน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural community: ASCC) มุ่งให้ประชาชนในภูมิภาคอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมเอื้ออาทร มีสวัสดิการสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
แต่ต่อมาเมื่อมีการประชุมผู้นำอาเซียนที่ เกาะเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ ผู้นำอาเซียนได้มีการลงนาม ปฏิญญาเซบู ว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก ๕ ปี เป็นภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยมีการจัดทำพิมพ์เขียวสำหรับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC Blueprint) ขึ้นในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติร่วมกันในการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามแผนงานดังกล่าว คือการเปิดตลาดสินค้า การเปิดตลาดการค้าบริการ การลงทุนให้กับประเทศสมาชิก การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี รวมถึงความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งการดำเนินงานจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยงานในประเทสรวมทั้งการแก้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้ตกลงไว้ โดยเฉพาะการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของอาเซียน นอกจากนี้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก อันจะนำไปสู่การจัดตั้งเอเชียตะวันออก(East Asia community) จึงเกิดกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม ๓ ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เกิดเป็น “อาเวียนบวกสาม” และเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในเวทีโลก อาเซียนได้ขยายการจัดทำความตกลงการค้าเสรีในกรอบ “อาเซียนบวกหก” โดยเพิ่มความร่วมมือกับประเทศนอกอาเซียนเพิ่มอีก ๓ ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย รวมเป็น ๑๖ ประเทศ
ความเกี่ยวข้องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับวิชาชีพพยาบาล
- การเปิดเสรีบริการวิชาชีพด้านสุขภาพ วิชาชีพพยาบาลเป็นงานบริการสาขาสุขภาพที่มี
รูปแบบการให้บริการสุขภาพ(Mode of Supply)
Mode1 การค้าบริการข้ามพรมแดน ในกรณีบริการทางการแพทย์เรียกว่า telemedicine
โดยการให้บริการผ่านทางอินเทอร์เนต เช่น บริการออกใบรับรองแพทย์ และบริการอ่านผล เอ็กซ์เรย์ เป็นต้น
Mode2 การเข้าไปรับบริการต่างแดน
Mode3 การจัดตั้งหน่วยธุรกิจในต่างแดน
Mode4 การเข้าไปทำงานของบุคลากรเป็นการชั่วคราว
ข้อผูกพันเฉพาะในรายสาขา
กัมพูชาและลาวเป็นสมาชิกอาเซียนที่ไม่มีข้อผูกพันในสาขาการบริการวิชาชีพ การพยาบาล ผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยแพทย์ ขณะที่ประเทศอาเซียนอื่นๆมีข้อผูกพันบริการวิชาชีพสาขานี้ โดยมีระดับการเปิดตลาดและขอบเขตที่แตกต่างกันไป สำหรับในประเทศไทยนั้น มีข้อผูกพันและเงื่อนไขเฉพาะครอบคลุมเฉพาะบริการวิชาชีพการพยาบาล โดยอนุญาตให้จัดตั้งในรูปแบบ Departmentในโรงพยาบาลและดำเนินการได้ ๑ แห่งเท่านั้น ผูกพันการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัด โดยกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติไว้ไม่เกินร้อยละ ๔๙ ส่วนข้อผูกพันและเงื่อนไขทั่วไป ไม่มีข้อจำกัดสำหรับการค้าบริการข้ามพรมแดนและการเข้าไปรับบริการในต่างแดน นั้น ผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจต้องมีใบอนุญาตดำเนินการ และต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย สำหรับการเข้าไปทำงานของบุคลากรเป็นการชั่วคราวจะผูกพันเฉพาะผู้โอนย้ายภาย ในบริษัทข้ามชาติระดับบริหารจัดการและผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
กลุ่มผู้ให้บริการทางการแพทย์ของไทย แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มคือ
- สถานพยาบาลภาครัฐ ประกอบด้วยโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลขนาดใหญ่/เฉพาะทาง โรงพยาบาลชุมชน สถานีอนามัย และสถานพยาบาลภาครัฐอื่นๆซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้บริการแก่คนไทย
- สถานพยาบาลภาคเอกชน ประกอบด้วยโรงพยาบาลและคลินิก มีบทบาทในการให้บริการผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม ผู้ป่วยที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง รวมทั้งชาวต่างชาติที่มาใช้บริการ
- การจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้จัดทำข้อตกลงยอมรับ
- อำนวยความสะดวกแก่การเคลื่อนย้ายพยาบาลวิชาชีพในประเทศสมาชิก
- แลกเปลี่ยนสารสนเทศ และความเชี่ยวชาญในเรื่องมาตรฐานและคุณสมบัติ
- ส่งเสริมให้มีการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการให้บริการ
- เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาและฝึกฝน รับรู้รายละเอียดหน้าที่และสิทธิของพยาบาลวิชาชีพต่างชาติและข้อมูลอื่นๆ
- การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ (Skill worker) หมายถึงผู้มีใบประกาศนียบัตรรับรองฝีมือ
ผลกระทบต่อระบบริการของพยาบาลในประเทศไทย
ผลกระทบเชิงบวก
- ยกระดับมาตรฐานการให้บริการพยาบาล เพิ่มพูนขีดความสามารถของพยาบาลไทย
- ตลาดทางการพยาบาลมีขนาดใหญ่ขึ้น
- เพิ่มโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ทางการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม การพยาบาลที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาอาเซียน การพยาบาลโรคไร้พรมแดน และการพยาบาลเชิงธุรกิจ เป็นต้น
- เกิดการพัฒนาการจัดการศึกษาทางการพยาบาลที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทางการพยาบาล
- เพิ่มปัจจัยการผลิตบริการทางการพยาบาล มีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน และเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน
- มีการแข่งขันของการบุคลากรทางการพยาบาลมากขึ้น
- หากระบบริการทางการพยาบาลภาครัฐของไทยไม่มีการพัฒนาประสิทธิภาพของแรง งาน (Labor productivity) อาจทำให้เกิดสมองไหลจากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชนได้
- อาจเกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากรทางการพยาบาลที่มีฝีมือของไทยไปยังประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า
- อาจทำให้เกิดภาวะคลาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาล
จากการที่มีการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกไปอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมา ทำให้
เกิดปัญหาสุขภาพ และปัญหาการขาดแคลนกำลังคนในระบบบริการสุขภาพ ส่งผลต่อการปรับตัวของวิชาชีพพยาบาลเป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่พยาบาลวิชาชีพทุกคนจะต้องเข้าใจถึงสถานภาพ ของวิชาชีพพยาบาลไทยในปัจจุบัน ซึ่งจากการศึกษาโดยการใช้ SWOT Analysis สามารถสรุปได้ดังนี้
จุดแข็ง(Strength)
- มีการกำหนดมาตรฐานการให้บริการพยาบาลและมีการควบคุมมาตรฐาน
- มีสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มีระบบการประกันคุณภาพด้านการศึกษาที่เข้มแข็ง
- มีการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพและมีการกำหนดให้มีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ
- พยาบาลไทยมีสมรรถนะสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน
- มีการพัฒนาบันไดวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
- พฤติกรรมบริการของพยาบาลไทยเน้นความเอื้ออาทรและมีความเสียสละสูง
- เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม การพัฒนาทางการพยาบาลของไทยมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ส่งผลให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการพยาบาลและเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันในเวทีโลก
- มีการพัฒนาองค์ความรู้ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพยาบาลเฉพาะทาง
- มีการพัฒนาทักษะทางการพยาบาล โดยเฉพาะทักษะการพยาบาลขั้นสูงสาขาต่างๆ
- ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการขยายบทบาทด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติ
- การขาดแคลนกำลังคนทั้งพยาบาลวิชาชีพและอาจารย์พยาบาล
- ขาดแคลนอัตรากำลัง
- มีการไหลของสมองของพยาบาลวิชาชีพจากภาครัฐสู่ภาคเอกชน
- มีการจุกตัวของพยาบาลวิชาชีพในเขตเมือง เกิดภาระในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในแถบชนบท
- มีการเน้นบทบาทด้านการรักษาฟื้นฟูผู้เจ็บป่วยมากกว่าการสร้างเสริมสุขภาพ ทำให้ขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในระดับปฐมภูมิ
- มีต้นทุนการผลิตพยาบาลวิชาชีพสูง
- ความพร้อมในด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการพยาบาลยังอยู่ในขั้นต่ำ
- การพัฒนาการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง
- นโยบายของภาครัฐไม่เอื้อต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ
- การรวมเป็น AEC ทำให้เกิดตลาดบริการสุขภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้พยาบาลวิชาชีพของไทยมีทางเลือกมากขึ้น
- ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนบวกหก จะส่งเสริมให้มีการปรับตัวของพยาบาลไทยให้มีระบบการบริการพยาบาลที่ได้ มาตรฐานสากล สามารถตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมทำให้เพิ่มขีดความสามารถของพยาบาลวิชาชีพของไทย
- กลุ่มประเทศ AEC ทำให้เกิดความต้องการบริการทางสุขภาพเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์ความ รู้ทางการพยาบาล โดยเฉพาะการพยาบาลโรคไร้พรมแดน การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม การพยาบาลผู้สูงอายุ และการบริการพยาบาลเชิงธุรกิจ เป็นต้น
- กลุ่มประเทศ AEC ทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาการจัดการศึกษาทางการพยาบาลให้สอดรับกับความต้องการตลาดใหม่ทางการพยาบาล
- ทำให้เพิ่มปัจจัยการผลิตบริการทางการพยาบาล ส่งเสริมการพัฒนาบริการทางการพยาบาล การศึกษาของวิชาชีพทางการพยาบาล รวมทั้งส่งเสริมความสามารถด้านภาษาอังกฤษแก่พยาบาลวิชาชีพไทยร่วมกับประเทศ สมาชิกอื่นๆ
- การเพิ่มจำนวนของประชากรส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนของโรคเพิ่มขึ้น
- ปัญหาด้านโครงสร้างประชากรสูงอายุที่เป็นวัยพึ่งพิงมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการการบริการพยาบาลเพิ่มมากขึ้น
- โครงสร้างประชากรวัยทำงานลดลง ส่งผลให้เกิดการคลาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลมากขึ้นในอนาคต
- ความต้องการบริการพยาบาลไทยในรูปแบบของการให้บริการชาวต่างชาติที่มารับบริการรักษาในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ ส่งผลต่อลักษณะการให้บริการทางการพยาบาล
- วิกฤติทางเศรษฐกิจและทรัพยากรส่งผลต่อการดำเนินชีวิตทั้งของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
- การเคลื่อนย้ายแรงงานในกลุ่มประเทศสมาชิก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคใหม่ๆ โรคไร้พรมแดน โรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ
- แนวโน้มรูปแบบการลงทุน/ธุรกิจทางด้านสุขภาพมุ่งเน้นการรักษาฟื้นฟู มากกว่าการสร้างเสริมสุขภาพ ทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรด้านการพยาบาลที่ทำงานด้านส่งเสริมในระดับปฐม ภูมิได้
ในอนาคตเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ AEC ตลาดบริการด้านสุขภาพจะเปิดกว้างสำหรับชาวต่างชาติที่มีกำลังจ่ายและความ ต้องการบริการพยาบาลทางด้านการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ และโรคไร้พรมแดนในวัยทำงานจะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการบริการทางการพยาบาลจะสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งในระดับปัจจัยการผลิต และระดับผู้บริโภค ระบบอุปทานทางการพยาบาลของไทยซึ่งมีทั้งระบบการจัดการทรัพยากรเพื่อการบรรลุ เป้าหมายสุขภาวะของผู้ใช้บริการ(ฝ่ายการพยาบาลในองค์กรพยาบาล) และระบบการเตรียมทรัพยากรทางการพยาบาล(สถาบันการศึกษาทางการพยาบาล) จึงต้องสอดรับกับความต้องการหรืออุปสงค์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึงพยาบาลวิชาชีพทุกคนจำเป็นต้องเตรียมและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงใน อนาคตอันใกล้นี้
การวิเคราะห์ทิศทางการปรับตัวของพยาบาลวิชาชีพของไทย
แนวทางในการกำหนดทิศทางการปรับตัวของพยาบาลวิชาชีพให้สอดคล้องกับศักยภาพและปัจจัยแวดล้อมต่างๆโดยมีหลักในการวิเคราะห์ดังนี้
- SO strategies (รุก/เติบโต)เป็นการคิดหาแนวทางในการการใช้จุดแข็งที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบจากโอกาสที่เอื้ออำนวยให้
- WO strategies (พัฒนา/ปรับปรุง)เป็นการหาแนวทางในการปรับปรุงจุดอ่อนให้ดีขึ้น ด้วยการใช้โอกาสที่เกิดขึ้นจากภายนอก
- ST strategies (ปรับตัว/ป้องกัน) เป็นแนวทางในการใช้จุดแข็งที่มีอยู่ในการหาทางหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบจาก อุปสรรคหรือภัยคุกคามจากภายนอก
- WT strategies (เปลี่ยนแปลง/ประคับประคอง)เป็นแนวทางในการลดจุดอ่อนภายในให้เหลือน้อยที่ สุด และหลีกเลี่ยงอุปสรรคหรืออันตรายที่เกิดขึ้นจากภายนอก
กำหนดทิศทางการปรับตัวของพยาบาลวิชาชีพได้ ดังนี้
- การปรับตัวเชิงรุกเพื่อการเจริญเติบโต
- การพัฒนาบริการพยาบาลสู่มาตรฐานสากล
- การพัฒนาบันไดวิชาชีพสู่มาตรฐานสากล
- การพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะทางด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม โรคอุบัติใหม่ และภัยพิบัติ
- การพัฒนาสถาบันทางการศึกษาด้านการพยาบาลให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพยาบาลของอาเซียน(ASEAN Nursing Education Hub)
- การปรับตัวเชิงรุกและการพัฒนา
- การพัฒนาProductivity ทางการพยาบาลจากปัจจัยการผลิตร่วม
- การพัฒนาProductivity ทางการพยาบาลจากระบบสารสนเทศ
- การพัฒนาการศึกษาพยาบาลจากปัจจัยการผลิตร่วม
- การพัฒนาระบบการบริหารพยาบาลให้สามารถดึงดูดบุคลากร
- การปรับตัวเชิงการป้องกัน
นวัตกรรม และ PAR (Participatory action Research) การพัฒนาภาพลักษณ์วิชาชีพพยาบาลให้มีความชัดเจนในด้านการส่งเสริมสุขภาพและ การดูแลผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยแล้ว การพัฒนาทักษะของพยาบาลเวชปฏิบัติด้าน Primary medical Care ให้ครอบคลุมโรคไร้พรมแดน โรคเรื้อรัง สุขภาพจิตชุมชน รวมทั้งการสร้างสำนึกรักบ้านเกิดให้กับพยาบาลวิชาชีพ และนักศึกษาพยาบาล
- การปรับตัวเชิงประคับประคองและการเปลี่ยนแปลง
พยาบาล เน้นการทำงานเชิงรุกเพื่อส่งเสริมสุขภาพป้องกันความเจ็บป่วย และใช้การตลาดทางการพยาบาลที่เน้น Social Marketing เน้นการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลจาก PAR ที่เน้นการจัดแบบกระชับ (Lean Management) ทั้งในระบบบริการทางการพยาบาลและระบบการศึกษาพยาบาล ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อการคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ และการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษและด้านสารสนเทศให้แก่พยาบาลวิชาชีพในทุกระดับ
สรุป การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยในปี พ.ศ.๒๕๕๘ จะทำให้อุปสงค์ของพยาบาลวิชาชีพไทยเปลี่ยนแปลงไป ทำให้พยาบาลวิชาชีพต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น เพราะจะเกิดการใช้ทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งวิชาชีพพยาบาลเป็นหนึ่งในสาขาบริการเร่งรัด (Priority Integration Sector) ที่ได้มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัติทางวิชาชีพ (MRA) ไม่ว่าจะปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน พยาบาลวิชาชีพจะได้รับผลกระทบด้านลบมากกว่าด้านบวกจากการเกิดภาวะสมองไหลและ ขาดแคลนกำลังคน การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดในอนาคตจึงควรมุ่งเรื่อง workforce Productivity เพื่อแก้ปัญหาในระยะสั้น และการทำ Social Marketingเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวจึงเป็นเรื่องจำเป็น
ประเด็นการใช้สถิติในการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์
บรรยายโดย รศ.ดร.บุญใจ ศรีสถิตนรากูร
การวิจัย การวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นคว้าและ พัฒนางานในศาสตร์ทุกแขนง เป็นการขยายขอบเขตความรู้ให้กว้างขึ้น เป็นการศึกษาหาความรู้อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อแสวงหาคำตอบสำหรับปัญหา หรือเพื่อการแสวงหาความรู้ใหม่ วิธีการทำงานใหม่ ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและในการปฏิบัติงาน โดยมีความถูกต้องและเชื่อถือได้
การออกแบบการวิจัย
การออกแบบการวิจัยเป็นการกำหนดรูปแบบ ขอบเขต และแนวทางการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อความรู้ตามปัญหาวิจัยที่ตั้งไว้
หลักการออกแบบการวิจัย
เมื่อพิจารณาถึงการออกแบบการวิจัยในแง่ประสิทธิผลแล้ว การออกแบบการวิจัยนั้นมุ่งที่จะให้ได้ข้อค้นพบที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัย ได้คำตอบของคำถามการวิจัยที่ถูกต้อง ผลที่ได้มีความเที่ยงตรง มีการควบคุมการแปรปรวนของตัวแปร สามารถวัดตัวแปรได้อย่างถูกต้อง มีการระบุขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยที่ชัดเจน ต่อเนื่องทำให้การดำเนินการวิจัยสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและประหยัด ทั้งงบประมาณ แรงงานและระยะเวลา
ความเที่ยงตรงของการออกแบบการวิจัย ในการออกแบบการวิ จัย มีความมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลวิจัยที่ถูกต้อง เที่ยงตรงและมีความเชื่อมั่นมากที่สุด โดยความเที่ยงตรงที่เกิดขึ้นในการวิจัยสามารถจำแนกได้ ดังนี้
๑. ความตรงภายใน (Internal validity)การ วิจัยจะมีความตรงภายในสูงเมื่อความแตกต่างหรือความแปรปรวน (variation) ที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรอิสระ (Independent variable) ของการวิจัยเท่านั้น ซึ่งสามารถพูดได้ในอีกนัยหนึ่งคือ ผู้วิจัยสามารถวัดค่าตัวแปรอิสระและตัวแปรตามได้อย่างมีความคลาดเคลื่อนต่ำ ตลอดจนสามารถควบคุมตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อนทั้งหมดซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ ที่คาดว่าน่าจะส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามไว้ได้นั่นเอง เช่น หลังจากการควบคุมระดับสติปัญญา และฐานะทางเศรษฐกิจของผู้เรียน คุณวุฒิและประสบการณ์ของผู้สอนแล้วปรากฏว่าวิธีการสอนแบบ x ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่าวิธีการสอนแบบ y เป็นต้น
การออกแบบการวิจัยให้มีความตรงภายในสูงนั้น ผู้วิจัยจะต้องสามารถออกแบบการวัด เพื่อ
วัดค่าตัวแปร และควบคุมตัวแปรได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนจะต้องสามารถออกแบบการใช้สถิติ เพื่อเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย และวิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง
การออกแบบการวัด (measurement design) ประกอบด้วย
- การกำหนดรูปแบบและวิธีการวัดค่าตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
- ระบุโครงสร้างและความหมายของตัวแปร
- การสร้างสเกลและเครื่องมือวัดค่าตัวแปร
- การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
- วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
- นำตัวแปรเกินมาใช้เป็นตัวแปรอิสระ
- จัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดยการสุ่ม (Random Assignment)
- จัดสภาพการณ์เพื่อขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกิน
- ใช้วิธีการทางสถิติเพื่อควบคุมค่าของตัวแปรเกิน
- การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยายที่เหมาะสมกับสเกลการวัดและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
- การวิเคราะห์และบรรยายข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ถูกต้อง
การวิจัยจะมีความตรงภายนอกสูงเมื่อผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างสามารถสรุป อ้างอิง (inference) ไปยังประชากรเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง หรือสามารถนำผลการวิจัยไปสรุปใช้ (generalize) ในสถานการณ์อื่นที่คล้ายคลึงกันได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถกล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า ผู้วิจัยจะต้องสามารถสุ่มหรือคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นตัวแทน ประชากรเป้าหมายที่ต้องการสรุปอ้างอิงไปถึง และจะต้องสามารถเลือกใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิงจากค่าสถิติของกลุ่มตัวอย่างไป ยังค่าพารามิเตอร์ของประชากรได้อย่างถูกต้อง ความตรงภายในเป็นคุณสมบัติพื้นฐานสำหรับความตรงภายนอก นั่นคือ การวิจัยจะมีความตรงภายนอกสูง เมื่อการวิจัยนั้นประกอบด้วยความตรงภายใน ตลอดจนผู้วิจัยจะต้องสามารถออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling design) เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมายโดยการสุ่ม (random selection) และจะต้องสามารถออกแบบการใช้สถิติ เพื่อเลือกใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิงในการวิเคราะห์และแปลความหมายได้อย่างถูก ต้อง
๓.ความตรงเชิงโครงสร้างการทดลอง (Experimental Construct Validity) คือ การนำสิ่งที่ใช้ในการทดลองเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ เมื่อทราบผลแล้วจะนำไปใช้ได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับการเลือกสิ่งที่จะใช้ทดลอง เหมาะสมหรือไม่ บางครั้งผู้วิจัยมุ่งเน้นเรื่องความตรงภายในมากแต่ลืมให้ความสำคัญกับความ ตรงภายนอก เช่น ถ้าต้องการเปรียบเทียบการสอนแบบสาธิตกับวิธีการสอนแบบโครงงานในวิชาเกษตร โดยจัดการให้เกิดความตรงภายในเป็นอย่างดีและได้ผลตามที่ต้องการแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติเพราะการสอนทั้งสองแบบมีวัตถุประสงค์ต่างกัน หรือทดลองเปรียบเทียบวิธีการอ่านออกเสียงกับการอ่านในใจแล้วพบว่าการอ่านออก เสียงได้ผลดีกว่าแต่ในทางปฏิบัติอาจใช้ได้ยาก เป็นต้น
๔. ความเที่ยงตรงเชิงสถิติ(Statistic Conclusion Validity) เป็นคุณภาพของการเลือก ใช้สถิติเพื่อการจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและข้อมูลมีลักษณะ ที่สอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้นของสถิตินั้น ๆ ที่ในการเลือกใช้สถิติ อาจจะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนที่มีวัตถุประสงค์ หรือขาดประสบการณ์ อาทิ จงใจเลือกวิเคราะห์หรือนาเสนอผลเฉพาะจุดที่สอดคล้องกับสมมุติฐานเท่านั้น หรือ การบิดเบือนข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์ หรือการวิเคราะห์ แบบลองถูกลองผิดจนกระทั่งได้ผลการวิเคราะห์ที่สอดคล้อง
ที่มา: https://kmanamai.wordpress.com/2015/04/21/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น